การเงินเฉพาะกิจ หรือ Project Finance เป็นรูปแบบการจัดหาเงินทุนที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านพลังงาน
การเงินเฉพาะกิจ (Project Finance) คืออะไร
การเงินเฉพาะกิจ หรือ สินเชื่อโครงการ คือวิธีการระดมทุนจากการกู้ยืมระยะยาวสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยใช้กระแสเงินสดหรือรายได้ในอนาคตของโครงการในการนำมาชำระหนี้ และเป็นหลักประกันในการกู้ยืม แทนการพึ่งพาสินทรัพย์หรือเครดิตของบริษัทผู้พัฒนาโครงการเพียงอย่างเดียว ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการพัฒนาสำหรับโครงการที่มีมูลค่าสูง ตัวอย่างเช่น โครงการสร้างโรงงานไฟฟ้า การสร้างระบบคมนาคม หรือโรงงานปิโตรเคมี
กลไกการทำงานของการเงินเฉพาะกิจ (Project Finance)
กลไกการทำงานของการเงินเฉพาะกิจ
- จัดตั้งบริษัทเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle: SPV) ทำหน้าที่ดำเนินกิจการของสินทรัพย์ที่จะทำการระดมทุน ซึ่งช่วยให้สามารถระดมทุนได้มากกว่าการกู้ยืมแบบปกติถึง 70-80% ของมูลค่าโครงการ
- ระดมทุนจากแหล่งต่างๆ เช่น ธนาคาร, ผู้สนับสนุนโครงการ
- เงินทุนส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืม (Debt) ประมาณ 70-80% ของมูลค่าโครงการ
- ส่วนที่เหลือมาจากทุน (Equity) ของผู้สนับสนุนโครงการ
- อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt-to-Equity Ratio) มักสูงอยู่ที่ 70-90%
- บริหารโครงการและชำระคืนเงินกู้จากรายได้ของโครงการ
- SPV รับผิดชอบในการบริหารโครงการตลอดอายุสัญญา
- รายได้จากโครงการถูกนำมาใช้ในการชำระหนี้ และให้ผลตอบแทนให้แก่นักลงทุน
สาเหตุที่ต้องมีการใช้การเงินเฉพาะกิจ (Project Finance)
1. เพื่อการใช้เงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ (High Leverage)
- เพิ่มผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) เนื่องจากต้นทุนหนี้ต่ำกว่าต้นทุนส่วนของผู้ถือหุ้น
- ช่วยให้สามารถดำเนินโครงการขนาดใหญ่ได้โดยใช้เงินลงทุนน้อยลง
2. ผลประโยชน์ทางภาษี (Tax Benefits)
เนื่องจากการจ่ายดอกเบี้ยจากการกู้ยืม สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
3. เพิ่มความสามารถในการกู้ยืม (Borrowing Capacity) บริษัทผู้พัฒนามีโอกาสดำเนินโครงการอื่นๆ เพิ่มเติมได้
4.การจำกัดความเสี่ยง (Risk Limitation)
ลดความเสี่ยงทางการเงิน เนื่องจากการชำระหนี้จะขึ้นอยู่กับกระแสเงินสด (Cash Flow) ของโครงการเท่านั้น
5. การกระจายความเสี่ยง (Risk Allocation) ช่วยกระจายความเสี่ยงของโครงการไปยังนักลงทุนหลายๆราย
6. การจัดหาเงินทุนระยะยาว (Long-term Finance)
- ช่วยให้โครงการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนระยะยาว
- สอดคล้องกับลักษณะของโครงการขนาดใหญ่ที่มักมีระยะเวลาดำเนินการยาวนาน
7. สนับสนุนนโยบายสาธารณะ
- เอื้อต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ
- ส่งเสริมการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP)
สรุปภาพรวมของการเงินเฉพาะกิจ (Project Finance)
การเงินเฉพาะกิจ หรือ สินเชื่อโครงการ เป็นวิธีระดมทุนสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยใช้รายได้ในอนาคตของโครงการเป็นหลักประกัน ผ่านการจัดตั้งบริษัทเฉพาะกิจ (SPV) ในการดำเนินงาน วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยง และเอื้อต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ โดยเหมาะกับโครงการที่ต้องการเงินลงทุนสูงและมีระยะเวลาดำเนินการยาวนาน
แหล่งที่มาอ้างอิง
Project Finance: Definition, How It Works, and Types of Loans (Investopedia.com)
Project Finance (Cleartax.in)
ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bot.or.th)