ตราสารหนี้ Debt Instrument คืออะไร
ตราสารหนี้ เป็นตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสาร เรียกว่า ผู้กู้(ลูกหนี้) มีข้อผูกพันทางกฎหมาย ที่ผู้กู้จะต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับผู้ซื้อหรือผู้ให้กู้ มีการจัดทำเอกสารและมีรายละเอียดตามข้อกำหนดตามที่ตกลง ตราสารหนี้ ได้แก่ หุ้นกู้ พันธบัตร ใบรับรอง สัญญาเช่า ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงิน เป็นต้น
ประเภทของตราสารหนี้ Debt Instrument
โดยหลัก ๆ แล้วจะแบ่งประเภทของตราสารหนี้ออกเป็น 2 ประเภทหลักได้แก่
- ตราสารหนี้ภาครัฐ
ตราสารหนี้ที่ทางรัฐบาลออกมาเราจะเรียกว่า พันธบัตรรัฐบาล ซึ่งจะมีความปลอดภัยสูงและมีความเสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนในเรื่องของกำไรหรือดอกเบี้ยอาจน้อยหากเทียบกับเอกชน
- ตราสารหนี้เอกชน
ตราสารหนี้ทางบริษัทที่ออกมาเพิ่มเงินทุนเราจะเรียกว่า ตราสรหนี้เอกชนหรือหุ้นกู้เอกชน จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าแต่หากเทียบกับความปลอดภัยจะต่ำกว่าพันธบัตรรัฐบาล

ทำไมต้องลงทุนตราสารหนี้ Debt Instrument
- ความมั่นคง นักลงทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้จะได้รับผลตอบแทนที่มั่นคง
- ผลตอบแทนที่ดี การลงทุนในตราสารหนี้จะช่วยให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการฝากออมทรัพย์หรือฝากประจำ
- สภาพคล่อง มีสภาพคล่องค่อนข้างสูง สามารถถอนเงินตราสารหนี้ได้ตลอดเวลา
- ตัวเลือกทางการลงทุนที่ปลอดภัย ตราสารหนี้ถือเป็นตัวเลือกการลงทุนที่ปลอดภัยสูง และมีต้นทุนทางการลงทุนที่ต่ำ
ความเสี่ยงของการลงทุนตราสารหนี้ Debt Instrument
- ความเสี่ยงในด้านของการผิดชำระหนี้ ที่ผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้
- ความเสี่ยงในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนตามเศรษฐกิจในช่วงนั้น ดังนั้นแล้วนักลงทุนต้องเข้าใจความเสี่ยงในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยก่อนเริ่มลงทุน
สรุปโดยภาพรวมเกี่ยวกับตราสารหนี้ Debt Instrument
การลงทุนในตราสารหนี้ถือเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่มีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงน้อยกว่ากองทุนตราสารทุน ซึ่งจุดเด่นของตราสารหนี้คือนักลงทุน เริ่มต้นลงทุนน้อยแต่ให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ ซึ่งการลงทุนในพันธบัตรผู้ออกโดยรัฐบาลจะทำให้มีโอกาสสูญเสียเงินต้นที่ต่ำ ผลตอบแทนดอกเบี้ยอาจไม่สูงเท่าหุ้นกู้เอกชน แต่ความมั่นคงและปลอดภัยสูงกว่า เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการลงทุนที่ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือนักลงทุนมืออาชีพก็สามารถเริ่มลงทุนได้