การเงินสำหรับการพัฒนา (Development Finance) แนวทางกลยุทธ์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

การเงินสำหรับการพัฒนา

เคยสงสัยกันไหมว่าการดำเนินโครงการต่าง ๆ นั้นจะต้องใช้เงินมากเท่าไร และจะเอาเงินจากที่ไหนมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่สังคมในระยะยาว แน่นอนว่าการพัฒนาด้านต่าง ๆ นั้นจำเป็นต้องอาศัยแหล่งเงินทุนจำนวนมากเพื่อใช้ในการปรับปรุงหรือทำให้ขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า “เงิน” นั้นมีบทบาทสำคัญอย่างมาก

รูปภาพประกอบด้วย ข้อความ, ภาพหน้าจอ, ของเล่น, การ์ตูน คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ

ภาพที่1 แสดงความหมายของการเงินสำหรับการพัฒนา

การเงินสำหรับการพัฒนา คืออะไร

การเงินสำหรับการพัฒนา (Development Finance) คือ การรวมกันของกระแสการเงินจากภาครัฐและภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศก็ตามที่มีแหล่งเงินทุนที่สามารถนำมาพัฒนาโครงการในด้านต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อสังคมในหลาย ๆ ด้าน เช่น เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานที่ดี

โดยกระแสเงินดังกล่าวจะเป็นตัวเชื่อมการเงินของภาครัฐและภาคเอกชนเข้าด้วยกัน ไม่ใช่แค่การลดโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการลดความยากจน การเสริมสร้างความเท่าเทียมและเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับคนในประเทศ ซึ่งตรงนี้เองนำไปสู่การพัฒนาโครงการให้เกิดประโยชน์แก่สังคมอย่างยั่งยืนอีกด้วย

ทำไมการเงินเพื่อการพัฒนาถึงถูกมองว่าส่งผลให้เติบโตทางเศรษฐกิจ

เมื่อนำ “เงิน” มารวมกับ “พัฒนา” แน่นอนว่าผลลัพธ์ที่มุ่งหวังต้องเป็นไปในทิศทางเชิงบวก การเงินเพื่อการพัฒนาจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างความก้าวหน้ารวมถึง การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศในทุกด้าน เพราะสามารถดำเนินการให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกทางสังคมได้

รูปภาพประกอบด้วย ข้อความ, ภาพหน้าจอ, ออกแบบ คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ

ภาพที่1 แสดงตัวอย่างของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินเพื่อการพัฒนาในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ตัวอย่างการใช้การเงินเพื่อการพัฒนาในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

1.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

การเงินเพื่อการพัฒนาถูกนำมาใช้สำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบน้ำปะปา ระบบขนส่ง ถนน เมื่อเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้าบริการมีความสะดวกมากขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ

2. การสนับสนุนโครงการที่มีผลกระทบต่อสังคม

การให้เงินทุนหรือร่วมลงทุนที่สนับสนุนการพัฒนาทางสังคมเช่น ด้านการศึกษา หรือสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กอย่าง (SMEs) จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน สร้างรายได้ ลดปัญหาความยากจนรวมถึงเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้

3. การสนับสนุนการส่งเสริมความยั่งยืน

“ความยั่งยืน” ตัวแปรที่การเงินเพื่อการพัฒนาให้ความสำคัญ ไม่ใช่เพียงแต่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจระยะสั้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการส่งเสริมความยั่งยืนระยะยาวในเรื่องของการลงทุน เช่น การลงทุนในโครงการที่ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ที่จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

สรุปภาพรวมเกี่ยวกับการเงินเพื่อการพัฒนา

การเงินสำหรับการพัฒนามีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต เพราะเป็นการระดมทรัพยากรทั้งทางการเงินและไม่ใช่ทางการเงินจากผู้ให้ทุน เพื่อการพัฒนาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ร่วมมือกัน โดยเงินส่วนนี้จะช่วยพัฒนาด้านต่าง ๆ ในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนและผู้ใช้บริการ

ซึ่งเป็น “ตัวเร่งการเติบโต”และ “ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจภายในประเทศ” หากการเงินเพื่อการพัฒนามีบทบาทเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตตามไปด้วย

อ้างอิง

 

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.