การลงทุนในกองทุนปิด (Closed-End Fund) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงและผลตอบแทนในระยะยาว แต่กองทุนปิดก็มีลักษณะและวิธีการลงทุนที่แตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป การตัดสินใจลงทุนในกองทุนประเภทนี้จำเป็นต้องทำความเข้าใจรายละเอียดและมีความรอบคอบ เพื่อให้การลงทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับความต้องการ
กองทุนปิดคืออะไร?
กองทุนปิด (Closed-End Fund) เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่มีเปิดขายหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียวเมื่อเริ่มโครงการเท่านั้น หลังจากนั้นจะปิดการรับซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติม ทำให้จำนวนของหน่วยลงทุนของกองทุนคงที่ ไม่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมประเภทนี้จะไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้จนกว่าจะครบอายุของกองทุน
ตัวอย่างกองทุนปิดที่นิยมลงทุน เช่น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อปล่อยเช่า หรือกองทุนตราสารหนี้ เป็นต้น
กองทุนปิดแตกต่างจากกองทุนเปิดยังไง?
ตารางเปรียบเทียบกองทุนปิดและกองทุนเปิด
- มีกำหนดอายุของโครงการอย่างชัดเจน
- เปิดให้ซื้อหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว
- ไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนในระหว่างโครงการ โดยจะขายคืนได้เมื่อหมดอายุของโครงการเท่านั้น
- นิยมจดทะเบียนซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรอง เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
ข้อดีและข้อควรระวังของของกองทุนปิด
ข้อดีของการลงทุนในกองทุนปิด
- กระจายความเสี่ยงไปในหลายหลักทรัพย์
- มีผู้จัดการกองทุนคอยบริหารจัดการ
- ผลตอบแทนสูงกว่ากองทุนแบบเปิด
ข้อควรระวังของกองทุนปิด
- เป็นการลงทุนในระยะยาว มีสภาพคล่องในการซื้อขายต่ำกว่ากองทุนเปิด
- ค่าธรรมเนียมที่อาจสูงขึ้น
- อาจมีความเสี่ยงจากการกระจุกตัวในการลงทุน (Concentration Risk) เนื่องจากกองทุนปิดบางกองอาจลงทุนเฉพาะเจาะจงในทรัพย์สินหรือกลุ่มอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าการกระจายการลงทุน
วิธีเลือกลงทุนในกองทุนปิด
การเลือกลงทุนในกองทุนปิดนั้น นักลงทุนควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
- กำหนดเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
-
- ต้องการรายได้ประจำหรือเน้นการเพิ่มมูลค่าเงินลงทุน
- สามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน
- เลือกประเภทกองทุนปิดให้สอดคล้องกับเป้าหมายและความเสี่ยง
- กองทุนตราสารหนี้ ความเสี่ยงต่ำ ให้ผลตอบแทนต่ำ
- กองทุนตราสารทุน ความเสี่ยงสูง ให้ผลตอบแทนสูง
- ศึกษาข้อมูลกองทุนปิดอย่างละเอียด
- นโยบายการลงทุน สัดส่วนการลงทุน
- ผู้บริหารกองทุน ประสบการณ์และผลงาน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เรียกเก็บ
- เปรียบเทียบผลการดำเนินงานย้อนหลัง
- กระจายการลงทุนในหลายกองทุน เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทน
- ติดตามข่าวสารและผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
- ศึกษารายงานประจำปีและผลประกอบการของกองทุน
- หากผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ให้ลองพิจารณาปรับเปลี่ยนการลงทุน
สรุป
กองทุนปิดเหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีเป้าหมายการลงทุนระยะยาว ต้องการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การลงทุนในกองทุนปิดมีข้อจำกัดด้านสภาพคล่องที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ รวมถึงควรศึกษารายละเอียดของแต่ละกองทุนอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ เพื่อให้การลงทุนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้
แหล่งที่มาอ้างอิง
Closed-End Fund กองทุนปิด (Set.or.th)
ประเภทของกองทุนรวม (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2558)
How a Closed-End Fund Works and Differs From an Open-End Fund (Investopedia.com)