ทำความรู้จักกับงบทดลอง (Trial balance)
เป็นงบที่จัดทำขึ้น เพื่อแสดงยอดคงเหลือของบัญชีต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยรายงานความถูกต้องของการบันทึกบัญชี หรือตรวจสอบความผิดปกติของบัญชีก่อนที่จะนำมาบันทึก และสามารถแก้ไขได้ทันทีหากพบข้อผิดพลาดของการทำบัญชีนั้น ๆ โดยงบทดลองจะเป็นรายงานทางบัญชีที่สรุปผลรวมของการบันทึกบัญชี ในทุกรายการที่เกิดขึ้น ว่าในแต่ละบัญชีนั้นมียอดคงเหลือเท่าไร รวมถึงจะเป็นเครื่องช่วยพิสูจน์ว่า การบันทึกบัญชีของกิจการนั้นมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง

ตัวอย่างงบทดลอง (Trial balance)
จะเห็นได้ว่างบทดลองจะต้องมีข้อมูลหลัก ๆ ดังนี้
- เลขที่บัญชี จะต้องมีการกำหนดไว้เพื่อให้ง่ายต่อการบันทึกบัญชี ซึ่งนักบัญชีสามารถพิมพ์เลขที่บัญชีข้อมูลต่าง ๆ จะปรากฏขึ้นมาเพื่อความรวดเร็วและสะดวก
- ชื่อบัญชี ต้องมีการกำหนดเอาไว้ในการบันทึกบัญชีเพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าบัญชีที่ดูและวิเคราะห์อยู่เป็นบัญชีประเภทใด
- จำนวนเงินเดบิต-เครดิตในส่วนนี้จะเป็นตัวสรุปผล ว่ารายการทั้งหมดที่บันทึกบัญชีไปนั้น ตัวเลขใดในแต่ละบัญชีอยู่ในประเภทเดบิตหรือเครดิต
การใช้งบทดลอง (Trial balance) มีประโยชน์อย่างไร
- เป็นการตรวจสอบให้แน่ใจว่ายอดคงเหลือของบัญชีเดบิตทั้งหมดเท่ากับยอดคงเหลือบัญชีเครดิต ซึ่งจะเป็นตัวทดสอบความถูกต้องในเบื้องต้น
- ช่วยป้องกันความผิดพลาดและแก้ไขข้อผิดพลาดก่อนที่จะปิดบัญชีหากพบความผิดพลาดขึ้น
- เพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำของการจัดทำงบการเงิน
ข้อจำกัดของงบทดลอง (Trial balance) มีอะไรบ้าง
- ชะลอการปิดทางการเงินเพื่อพบข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
- ตรวจไม่พบว่าการทำธุรกรรมนั้นผิดพลาดไปผิดบัญชี หรือเดบิตและเครดิตไปผิดบัญชีหากยอดเดบิตและเครดิตยังเหลืออยู่
- งบทดลองไม่สามารถสอบความผิดพลาดของการทำบัญชีได้ทั้งหมด เป็นเพียงขั้นตอนเบื้องต้นในการตรวจสอบบัญชีเท่านั้นก่อนที่จะนำ ไปวิเคราะห์ในลำดับต่อไป
สรุปโดยภาพรวมเกี่ยวกับงบทดลอง (Trial balance)
ในการจัดทำบัญชีจะใช้ขั้นตอนการทำบัญชีงบทดลองในการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการจัดทำบัญชีที่เกิดขึ้น ซึ่งหากเดบิตรวมเท่ากันกับเครดิตรวม ยอดดุลทดลองของการทำบัญชีจะถือว่าสมดุลและไม่มีข้อผิดพลาดในเบื้องต้นของการตรวจสอบบัญชี
อ้างอิง
https://www.investopedia.com/terms/t/trial_balance.asp
https://tipalti.com/accounting-hub/trial-balance/
https://corporatefinanceinstitute.com/resources/accounting/trial-balance/