รายได้พึงประเมิน(Taxable Income)

เงินหรือทรัพย์สินรวมถึงผลประโยชน์อื่น ที่เราต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ เว้นแต่มีการระบุไว้ว่าเงินได้ที่เราได้รับมายกเว้นการเสียภาษี เนื่องจากการรับเงินของแต่ละอาชีพมีความแตกต่างกัน รวมถึงความยากง่ายและต้นทุนในการประกอบอาชีพ

ทำไมต้องแบ่งประเภทรายได้พึงประเมิน(Taxable Income)

เพื่อความเป็นธรรมในการเสียภาษีทางกฎหมาย จึงได้มีการแบ่งลักษณะของประเภทรายได้พึงประเมินออกเป็นกลุ่ม เพื่อประเมินความเหมาะสมของการเสียภาษีรายได้ และเพื่อเกิดความเป็นธรรมมากที่สุด เพื่อลดโอกาสการเสียเปรียบและได้เปรียบต่อกัน

ประเภทของรายได้พึงประเมิน(Taxable Income)
รายได้พึงประเมินแบ่งออกเป็น 8 ประเภทซึ่งแต่ละประเภท มีรายละเอียดและการนำมาคำนวณภาษี เพื่อใช้ในการหักค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันดังนี้

รายได้พึงประเมินประเภทที่ 1:

เงินที่ได้จากการจ้างแรงงาน ตัวอย่างเช่น เงินเดือน เงินโบนัส บำนาญ เงินค่าที่พักหรือสวัสดิการจากนายจ้าง


การหักภาษี –
หักค่าใช้จ่าย 50% ไม่เกิน 100,000 บาท รวมกับประเภทที่ 2 ต้องไม่เกิน 100,000 บาท

รายได้พึงประเมินประเภทที่ 2:

เงินได้เนื่องจากหน้าที่ตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำให้ ตัวอย่างเช่น เงินอุดหนุนของเบี้ยประชุม ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เงินค่าเช่าบ้าน เงินประจำตำแหน่ง

การหักภาษี – ไม่เกิน 100,000 บาท (รวมกับประเภทที่ 1 ต้องไม่เกิน 100,000 บาท)

รายได้พึงประเมินประเภทที่ 3:

เงินได้จากค่าลิขสิทธิ์ หรือประเภทเงินได้เป็นรายปีที่ได้มาจาก พินัยกรรมหรือคำพิพากษาของศาล

การหักภาษี – หักค่าใช้จ่ายตามจริงรวมแล้วไม่เกิน100,000 บาท

รายได้พึงประเมินประเภทที่ 4

เงินได้จากดอกเบี้ย เงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร ที่เป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการลงทุนทั้งหมด รวมถึงหุ้นต่าง ๆ

 

การหักภาษี – ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้

 

รายได้พึงประเมินประเภทที่ 5

เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน หรือเงินที่ได้รับผลประโยชน์อื่น ที่ได้มาจากการผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน หรือการผิดสัญญาการซื้อขายเงินผ่อน เป็นต้น

การหักภาษี – บ้าน 30%, ที่ดินที่ใช้สำหรับเกษตรกรรม20%, ที่ดินไม่ทำเกษตรกรรม15%, รถยนต์และยานพาหนะอื่น ๆ 30%, ทรัพย์สินอื่น ๆ 10%

รายได้พึงประเมินประเภทที่ 6

เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชาบัญชี วิศวกรรม สถาปัตยกรรม วิชากฎหมาย ประกอบโรคศิลป์ หรือรวมถึงวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งได้มีการกำหนดพระราชกฤษฎีกาไว้

การหักภาษี – หักค่าใช้จ่ายตามจริงหรืออัตราเหมา ประกอบโรคศิลปะ 60%, บัญชี วิศวกรรม, สถาปัตยกรรมและวิชากฎหมาย 30%

รายได้พึงประเมินประเภทที่ 7

เงินที่ได้จากการรับเหมา หรือเงินที่ผู้รับเหมาต้องจัดหาสัมภาระเอง ในส่วนสำคัญนอกเหนือจากเครื่องมือ

การหักภาษี – หักค่าใช้จ่ายตามจริงหรือแบบเหมา 60%

รายได้พึงประเมินประเภทที่ 8

เงินที่ได้จากการพาณิชย์ การทำธุรกิจ การเกษตร การอุตสาหกรรม หรือสิ่งที่นอกเหนือจากประเภทที่หนึ่งถึงเจ็ดที่ระบุไว้ข้างต้น

การหักภาษี – หักค่าใช้จ่ายตามจริงหรือแบบเหมา 40-60%

สรุปโดยภาพรวมเกี่ยวกับรายได้พึงประเมิน (Taxable Income)

รายได้พึงประเมินจะเป็นเงินทั้งหมดตามที่กฎหมายได้บังคับ ซึ่งเราต้องนำมาเสียภาษี โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าเงินอะไรก็ตามที่เราได้รับ นับเป็นรายได้พึงประเมินแทบทั้งสิ้น เพื่อนำมาจ่ายภาษีให้กับทางรัฐโดยการเก็บภาษีก็จะมีการเรียกเก็บตามอัตราที่แตกต่าง ไปตามประเภทของรายได้ที่ระบุไว้ข้างต้น

 

อ้างอิง

https://www.rd.go.th/fileadmin/download/insight_pasi/personalincome_61.pdf

https://www.rd.go.th/5937.html

https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/dwnt/mzyz/~edisp/uatucm363939.pdf

 

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.